พระ เจดีย์องค์พระธาตุพนมเดิม(บูรณะเมื่อ พ.ศ.2408) ได้ล้มพังทลายลงมาทั้งองค์ เมื่อเวลา 19.38 น. ของวันที่ 11 สิงหาคม 2518 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะ ยังความเศร้าสลดใจให้กับบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อน บ้านที่มีความเคารพเลื่อมใสต่อองค์พระธาตุพนมเป็นอย่างยิ่ง
หลังจากองค์พระธาตุพนมล้มลงมาแล้ว เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการสำรวจความเสียหาย ทำการรื้อถอนซากปรักหักพังและขนย้ายสิ่งของอันมีค่าจำนวนมากมายรวมทั้งพระ เครื่อง พระบูชา ที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี นำบรรจุไว้เมื่อปี พ.ศ. 2408 ด้วยสำหรับสิ่งของอันมีค่าที่เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรค้นพบจากองค์พระธาตุพนม ทั้งหมดนั้นพระเทพรัตนโมลี (พระธรรมราชานุวัตร) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมและเจ้าคณะ จังหวัดนครพนมในขณะนั้น ได้นำบรรจุไว้ในองค์พระธาตุพนมที่สร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบันส่วนหนึ่ง(อีกส่วน หนึ่งเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัดพระธาตุพนม) สำหรับพระเครื่อง พระบูชา ของเฉพาะที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีสร้างนั้น ท่านเจ้าคุณพระเทพรัตนโมลี ได้เก็บรักษาไว้ แล้วมอบแก่พุธทศานิกชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ ร่วมบูรณะองค์พระธาตุพนมเท่านั้น ไม่เปิดให้เช่าบูชา หรือให้บูชาอย่างเปิดเผยแต่ประการใด ดังนั้นจึงเป็นที่มาถึงการที่ไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเหมือนกับพระ สมเด็จกรุอื่นๆที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีได้สร้างเอาไว้
ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึ่งได้นำประวัติพระสมเด็จกรุพระธาตุพนมมาเปิดเผยให้ศิษย์ยานุศิษย์ได้ทราบ ดังนี้
เมื่อปี พ.ศ. 2407 วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2407 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน10 ปีชวด จุลศักราช 1226 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4ได้ทรงโปรดเกล้าสถาปนาสมณศักดิ์พระเทพกวี ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์[คณะผู้จัดทำได้ไปค้นคว้าจากประวัติพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวอยู่ รัชกาลที่ 4 เพื่อยืนยันว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์นั้น สมเด็จฯท่านมีสมณศักดิ์ เป็นพระธรรมกิตติในปีชวด จุลศักราช 1214(พ.ศ.2395)และมีสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวี ในปีขาล จุลศักราช 1216(พ.ศ. 2397)กับได้ทรงรับสั่งมอบหมายท่านให้เป็นแม่กองไปบูรณะองค์พระธาตุพนมด้วย ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พร้อมด้วยท่านเจ้าคุณธรรมทานาจารย์(เจ้าคุณแนบ) ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร(เจ้าคุณช่วง)พร้อมด้วยพระปลัดโฮ้ จึงได้เดินทางไปตรวจสอบองค์พระธาตุพนม ในขณะนั้นชำรุดเสียหายมากน่าจะไม่สามารถทำการบูรณะซ่อมแซมได้ จำเป็นต้องสร้างพระธาตุพนมใหม่ทั้งองค์ ก็ควรที่จะได้สร้างพระเครื่อง พระบูชา บรรจุไว้ในเจดีย์องค์พระธาตุพนมด้วย เพื่อเป็นพุทธบุชา และเนื่องจาก ณ เจดียสถานแห่งนี้มีพระมหากัสสปะเถรเจ้า ได้นำเอาพระอุรังคะธาตุมาประดิษฐานไว้ให้สาธุชนผู้เลื่อมใสศรัทธาในองค์พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าได้กราบนมัสการ บูชา สักการะ แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้นำความเห็นขึ้นกราบทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 ให้ทรงทราบและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 ทรงเห็นด้วยและโปรดให้ดำเนินการได้กับทรงมีรับสั่งให้สร้างให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2408 ฉะนั้นการสร้างพระเจดีย์องค์พระธาตุพนม การสร้างพระเครื่อง พระบูชา จำนวน 84,000 องค์ เพื่อนำไปบรรจุในองค์พระธาตุพนมจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2407 เป็นต้นมา
การสร้างพระเครื่อง พระบูชานั้น ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสีให้นำเศษ ปูน ทรายที่ร่วงมาจากองค์พระธาตุพนม รอบๆองค์พระธาตุพนมมาเป็นส่วนหนึ่งของมวลสารและเมื่อข่าวการสร้างพระเครื่อง พระบูชา จำนวน 84,000 องค์ เพื่อบรรจุในองค์พระธาตุพนมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้แพร่กระจายออกไปจึงได้มีพระเถรานุเถระ ผู้ใหญ่จากประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่มีความเคารพเลื่อมใสในองค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้าได้นำเอามวลสารสิ่งของที่มีค่ามาถวายท่านเจ้าพระคุณฯ เพื่อร่วมสร้าง พระเครื่อง พระบูชา ในคราวนี้ด้วย...อาทิ พระเถรานุเถระผู้ใหญ่จากเขมร พม่า ได้นำพลอยดิบที่ยังไม่ได้เจียระไน หรือที่เรียกว่าอัญมณี สีต่างๆ พร้อมด้วยแร่ทองคำมาถวาย พระเถรานุเถระจากลาว นำลูกปัดทวาราวดี และพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย เป็นต้น สิ่งต่างๆที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้รับการถวายในครั้งนี้ พระคุณเจ้าได้นำมาผสมเป็นมวลสารในการสร้างพระเครื่อง พระบูชาในครั้งนี้...ทั้งหมด
ฉะนั้น เนื้อหรือมวลสารของพระเครื่อง พระบูชากรุพระธาตุพนม จึงประกอบด้วยมวลสารต่างๆมากมาย ดังนี้
1.ปูน ทรายเก่าที่ร่วงมาจากองค์พระธาตุพนมรวมทั้งที่ปรักหักพังลงมากองอยู่รอบๆ องค์พระธาตุพนมถูกนำมาบดละเอียด ถือได้ว่าเป็นผงศักดิ์สิทธิ์ เป็นผงสำคัญ ในการสร้างพระเครื่อง พระบูชา กรุพระธาตุพนม
2.พลอยดิบ หรือ อัญมณี สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีฟ้า ถูกนำมาบดเป็นส่วนผสม
3.แร่ทองคำ ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี ให้ตะไบออกเป็นผง เรียกผงตะไบทอง ผสมลงไปด้วย
4.ลูกปัดทวาราวดีสีต่างๆ ที่พระเถรานุเถระผู้ใหญ่จากลาว จะถูกนำมาผสมกับมวลสารอื่นๆด้วย
5.พระบรมสารีริกธาตุ ที่พระเถรานุเถระผู้ใหญ่จากลาวและศิษยานุศิษย์ของท่านเจ้าพระคุณนำมาถวาย ก็ได้รับการนำลงไปผสมกับมวลสารอื่นๆเช่นกัน
6.ผงวิเศษต่างๆ อาทิ ผงอิทธิเจ ผงมหาราช ผงพุทธคุณ ของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสีที่ได้เก็บสะสมไว้ได้นำมา รวม ผสมลงในการสร้างพระเครื่อง พระบูชา จำนวน 84,000 องค์ เพื่อนำบรรจุลงในองค์พระธาตุพนม และเนื่องจากเวลามีจำกัด ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 ได้กำหนดให้การก่อสร้างองค์พระธาตุพนมให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2408 การพิมพ์ พระเครื่อง พระบูชาจำนวน 84,000 องค์ จึงต้องช่วยกันพิมพ์ทั้งที่วัดระฆัง และที่วัดพระธาตุพนม ส่วนผสมในการสร้างพระนั้นเหมือนกันทั้งสองวัดจะแตกต่างกันอยู่บ้างก็ตรงที่ ใครจะนำส่วนผสมอะไรใส่ลงในครกแต่ละครั้งมากกว่ากันเท่านั้น ส่วนพระที่สร้างที่วัดระฆังนั้น ท่านเจ้าพระคุณธรรมทานาจารย์(เจ้าคุณแนบ) ท่านได้ลงรักปิดทองไว้ด้วย
สำหรับการนำพระเครื่อง พระบูชา บรรจุลงในองค์พระเจดีย์นั้น เมื่อได้ทำการสร้างพระเจดีย์องค์พระธาตุพนมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้จัดให้มีการสมโภช เฉลิมฉลององค์พระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน และได้นำพระเครื่อง พระบูชา ทั้งหมด 84,000 องค์ บรรจุลงในพระธาตุพนม ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปี พ.ศ. 2408 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 ได้เสร็จเป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพารในพระองค์ และพระเถรานุเถระ ผู้ใหญ่ พระราชาคณะทั้งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน ได้ร่วมกันทำการถวายพระเครื่อง พระบูชาที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้สร้างขึ้นจำนวน 84,000 องค์ เป็นพุทธบูชาต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งนั้นด้วย
พระพุทธคุณของสมเด็จกรุพระธาตุพนมนั้น ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี บอกว่า พระสมเด็จกรุพระธาตุพนม มีพุทธคุณสูงมาก เนื่องจาก ส่วนผสมของมวลสารต่างๆ ที่นำมาเป็นส่วนผสม เช่น ปูน ทรายเก่า จากองค์พระธาตุพนม พระบรมสารีริกธาตุ เป็นต้น และการสร้างพระเครื่อง พระบูชา จำนวน 84,000 องค์ ในครั้งนี้ ท่านเจ้าพระคุณฯ ได้ตั้งจิตอธิษฐานเป็นกรณีพิเศษ เพื่อถวายเป็นพุทธบุชาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระบรมครูของท่าน ผู้หนึ่งผู้ใดมีไว้ครอบครอง หรือนำขึ้นบูชาเป็นพระประจำตัวแล้ว จะเป็นผู้มีบุญวาสนาสูงส่ง เป็นสิริมงคลต่อชีวิต
สรุปได้ความว่า
พ.ศ.2395 รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ สมเด็จพุฒาจารย์โต,เจ้าคุณธรรมทานาจารย์(เจ้าคุณแนบ),เจ้าคุณธรรมถาวร(เจ้า คุณช่วง),และปลัดไฮ้เข้าตรวจสอบพระธาตุพนม ตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่สามารถซ่อมแซมได้ จึงให้บูรณะใหม่ทั้งองค์และให้จัดสร้างพระสมเด็จส่วนผสมคือ ปูนจากเจดีย์เก่า พลอยดิบได้รับการถวายจากเขมร และพม่า ทองคำ ลูกปัดทราวดี พระบรมสารีริกธาตุจำนวน 84,000 องค์บรรจุในองค์พระธาตุพนม ส่วนยอดพระธาตุพนมทำด้วยทองคำน้ำหนักถึง 110 กิโล ให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2408
พ.ศ. 2485 วัดพระธาตุพนม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอารามหลวงชั้นเอก ชั้นมหาวรวิหาร
วัน ที่ 11 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2518 เวลา 19.38 น พระธาตุพนมได้หักล้มมาทั้งองค์ พระเทพรัตนโมลี(พระธรรมานุวัตร)เจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดในขณะนั้นได้จัดเก็บองค์พระสมเด็จไว้ทั้งหมด และบางส่วนเอาออกให้ผู้มีจิตศัทธาในการช่วยบูรณะพระธาตุไม่ได้เอาออกให้บูชา จึงไม่ค่อยได้เห็นให้ปรากฎในตลาดพระโดยทั่วไป
ลักษณะพิมพ์ทรง และ พุทธศิลป์ พระสมเด็จ ปี 2395-2408
1.ไม่มีกรอบกระจก
2.มีกรอบกระจก
3. เนื้อพระ ปูนจากเจดีย์เก่า แข็ง และแน่น
4. มวลสารพลอยดิบได้รับการถวายจากเขมร และพม่า ทองคำ ลูกปัดทราวดี พระบรมสารีริกธาตุ
5.ด้านหลังองค์พระปาดเรียบ, หรือแผ่นป้ายทอง
6.พิมพ์พระสง่าผ่าเผยจะค่อนข้างตื้น.ไม่ปรากฎรอยหนอนด้น หลุมโลกพระจันทน์ และรอยบ่อน้ำตา.เพราะพระเนื้อแข็ง แน่น..จึงไม่อาจปรากฎรอบยุบตัวของมวลสาร
7.ซุ้มครอบแก้วโย้เอียง
8.คมขวานฐานสิงห์..คมชัด
9.พื้นที่ระดับพระยังคงเป็น 3 มิติ
ทีมาจาก http://www.9pha.com/?cid=137261